4 ธันวาคม 2557

ประโยชน์และข้อเสียของRemote Sensing


ประโยชน์ของการตรวจวัดจากระยะไกล

                 1.  ตรวจวัดครอบคลุมพื้นที่ได้เป็น บริเวณกว้างในแต่ละครั้ง โดยเฉพาะการตรวจวัดจากอวกาศ   ทำให้มองภาพรวมได้ง่าย และได้ข้อมูลที่ค่อนข้างทันต่อเหตุการณ์

                 2.  ตรวจวัดได้ในหลายระดับของความละเอียด ทั้งความละเอียดเชิงพื้นที่และความละเอียดเชิงรังสี  ขึ้นอยู่กับความสามารถของอุปกรณ์ และระดับความสูงของสถานีติดตั้ง เป็นสำคัญ

                3.  ตรวจวัดได้อย่างต่อเนื่องทั้งในช่วงกลางวันและช่วงกลางคืน โดยเฉพาะการตรวจวัดในช่วง เทอร์มอลอินฟราเรดและไมโครเวฟ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้แสงอาทิตย์ช่วยในการสำรวจ

                4.  ตรวจวัดได้ใน หลายช่วงคลื่นไม่เฉพาะในช่วงแสงขาวที่ตาเรามองเห็นเท่านั้น ทำให้ได้ข้อมูล เกี่ยวกับวัตถุหรือพื้นที่ที่ศึกษามากกว่าที่เรารับรู้ตามปกติมาก

                5.  ตรวจวัดข้อมูลในพื้นที่ที่เข้าถึงทางพื้นดินลำบากได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ต้องการเพียงสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มาจากพื้นที่ที่ศึกษาเท่านั้นในการทำงาน


ข้อเสียของการตรวจวัดจากระยะไกล

                1.  ต้องใช้งบลงทุนในเบื้องต้นและงบดำเนินการสูง โดยเฉพาะในการจัดหาสถานีติดตั้งและการสร้างอุปกรณ์ตรวจวัดเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีระดับสูง

                2.  ต้องใช้บุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะในการดำเนินงาน เนื่องจากต้องการผู้ที่มีความรู้พื้นฐานที่ดีมากพอสำหรับการบริหารจัดการระบบและการใช้ประโยชน์ จากข้อมูลที่ได้

                3.  ข้อมูลที่ได้บางครั้งยังขาดความละเอียดเชิงพื้นที่มากพอ เนื่องมาจากเป็นการสำรวจจากระยะไกล   ทำให้การศึกษาในบางเรื่องอาจมีข้อจำกัดอยู่มากพอควร

                4.  ข้อมูลที่ได้บางครั้งยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่สูง ซึ่งเกิดมาได้จากหลายสาเหตุ ทั้งส่วนที่เกิดมาจากความบกพร่องของตัวระบบเอง และส่วนที่เกิดมาจากสภาวะแวดล้อมขณะทำการตรวจวัด 





Continue Reading...

การผสมสีภาพถ่ายดาวเทียม


การผสมสีภาพถ่ายดาวเทียม

ภาพสีผสมแบบสีธรรมชาติ(Natural Color Composite): NCC



ภาพสีผสมแบบสีจริง(True Color Composite) : TCC



ภาพสีผสมเท็จ(False Color Composite) : FCC

Continue Reading...

ระบบ Passive และ Active


ระบบ Passive และ Active


     1.ระบบ Passive หรือ แบบเฉื่อย

        ในระบบ Passive จะเก็บข้อมูลได้ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งในระบบนี้จำเป็น ต้องมีดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานตามธรรมชาติ ซึ่งระบบ Passive ต้องอาศัยการสะท้อนพลังงานชองวัตถุบนพื้นโลกด้วยแสงอาทิตย์เสมอ ระบบ Passive ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ดีในช่วงที่ฟ้าปิด เช่นช่วงฤดูฝน ช่วงที่มีเมฆมาก และช่วงที่มีหมอกปกคลุมอยู่หนาแน่น ในระบบ Passive สามารถบันทึกข้อมูลได้ในช่วงอืนฟราเรดความร้อน ซึ่งเป็นการแผ่พลังงานความร้อน จากวัตถุบนพื้นผิวโลกในเวลากลางคืน


  2.ระบบ Active หรือ แบบขยัน

        ระบบ Active มีแหล่งพลังงานจากการสร้างขึ้นของอุปกรณ์สำรวจในคลื่นไมโครเวฟ สามารถนำไปใช้ใน ระบบเรดาร์ โดยระบบ Active จะส่งผ่านพลังงานไปยังพื้นที่เป้าหมายและบันทึกสัญญาณการกระจัดกระจายกลับ ระบบ Active สามารถทำงานโดยไม่จำกัดด้านเวลาและสภาพภูมิอากาศเพราะว่าในระบบนี้สามารถส่งสัญญาณทะลุผ่านกลุ่มเมฆ หมอก ฝน ทำให้ระบบ Active มีข้อได้เปรียบกว่าระบบ Passive เพราะสามารถบันทึกสัญญาณได้ ทั้งเวลากลางวัน และกลางคืน
Continue Reading...

รูปแบบของการตรวจวัดรังสี

รูปแบบของการตรวจวัดรังสี

มีที่มาจาก 3 แหล่งหลัก คือ
  1. รังสีที่ตัววัตถุแผ่ออกมาเองตามธรรมชาติ (radiation หรือ emission)
  2. แสงอาทิตย์ที่สะท้อนออกมาจากผิวของวัตถุ (reflected sunlight) 
  3. รังสีสะท้อนจากตัววัตถุที่ส่งมาจากตัวเครื่องตรวจวัดเอง (reflected sensor’s signal)

      โดยทั่วไปอุปกรณ์ตรวจวัดแต่ละตัวมักจะถูกออกแบบมาให้ตรวจวัดได้ดีที่สุดในช่วงความยาวคลื่นแคบๆช่วงหนึ่งเท่านั้น เรียกว่าเป็น ช่วงคลื่นของการตรวจวัด(spectral range)หรือ แบนด์(band)ของอุปกรณ์ ซึ่งที่พบมากมักอยู่ในช่วง UV ,ช่วงแสงขาว ,ช่วงอินฟราเรด และ  ของสเปกตรัมคลื่น EM






การสะท้อนคลื่นรังสีของพืชพรรณ ดิน และ น้ำ


Continue Reading...

หลักการทำงานของระบบการตรวจวัดข้อมูลจากระยะไกล


หลักการทำงานของระบบการตรวจวัดข้อมูลจากระยะไกล

จากผังการทำงานพื้นฐานของระบบ RS ร่วมกับ GIS จะแยกออกได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้  

 1.การได้มาซึ่งข้อมูล(data acquisition) 
       การได้มาซึ่งข้อมูลจะมีองค์ประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ  
       1.แหล่งข้อมูล(source)ในที่นี้ หมายถึง พื้นที่เป้าหมายของการสำรวจซึ่งอาจอยู่บนผิวโลกหรือในบรรยากาศของโลกก็ได้ แต่ที่สำคัญต้องเป็นเขตที่สามารถสร้างหรือสะท้อนสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาได้สำหรับเป็นสื่อในการตรวจวัดโดยอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ 
       2.เครื่องตรวจวัดจากระยะไกล(remote sensor)เป็นอุปกรณ์ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับการตรวจวัดสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งออกมาจากพื้นที่เป้าหมายแยกตามช่วงคลื่นที่เหมาะสม โดยมันมักถูกมักติดตั้งไว้บนเครื่องบิน บอลลูน หรือ บนดาวเทียม ทำให้สามารถสำรวจผิวโลกได้เป็นพื้นที่กว้างโดยข้อมูลที่ได้มักจัดเก็บไว้ในรูปของ ภาพอนาลอก (analog image) หรือ ภาพเชิงตัวเลข (digital image) เช่น ภาพดาวเทียม เป็นต้น 

 2.การประมวลผลข้อมูล (data processing) 
      แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ
      1.การปรับแต่งและแก้ไขข้อมูล(data enhancement and correction) เป็นการปรับแก้ข้อมูลให้มีความถูกต้องและเหมาะสมสำหรับการประมวลผลมากยิ่งขึ้นโดยการปรับแก้จะแบ่งเป็น 2 แบบ หลัก คือ
          1.1 การปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงรังสี(radiometric correction) 
                   1.2 การปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต(geometric correction) ของภาพที่ใช้
      2.การวิเคราะห์และแปลข้อมูล (data analysis and interpretation) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ผลการศึกษาออกมาตามที่คาดหวังที่สำคัญคือเทคนิคการจำแนกองค์ประกอบ(classification) ของภาพดาวเทียม หรือ ภาพถ่ายทางอากาศ เป็นต้น 
   
 3.การแสดงผลการศึกษาและการจัดเก็บข้อมูล(data presentation and database management)
  
 4.การประยุกต์ใช้ข้อมูลร่วมกับเทคนิคทางGIS(GIS-based data application)


Continue Reading...

Remote Sensing Intro



การสำรวจจากระยะไกล 

(Remote Sensing)



คำจำกัดความของ “Remote Sensing”
     วิทยาศาสตร์และศิลปะของการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับ วัตถุ พื้นที่ หรือ ปรากฏการณ์ จากเครื่องบันทึกข้อมูลโดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมายโดยอาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูล

   
พัฒนาการของระบบการตรวจวัดจากระยะไกล
    ความก้าวหน้าของเทคนิคการตรวจวัดจากระยะไกลจะขึ้นกับพัฒนาการของตัวแปรหลัก 3 ตัว คือ
        1. สถานีติดตั้ง (platform) 
        2. เครื่องตรวจวัด (remote sensor) 
        3. ระบบการประมวลผลข้อมูล (processing system)
          
พัฒนาการของระบบ RS ออกได้เป็น 2 ช่วงหลักคือ
    
    1.ช่วงก่อนปี ค.ศ.1960 เรียกว่าเป็นยุคของการสำรวจทางอากาศโดยมีเครื่องบินและบอลลูน เป็นสถานีติดตั้งที่สำคัญสำหรับเทคนิคการตรวจวัดที่ใช้งานกันมากที่สุดคือ การถ่ายภาพทางอากาศ (aerial photography)

    2.ช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ.1960 เป็นต้น เรียกว่าเป็นยุคของการสำรวจจากอวกาศ(space age) หรือ ยุคดาวเทียม เนื่องจาก อุปกรณ์การตรวจวัดที่สำคัญมักจะติดตั้งไว้บน ดาวเทียม ซึ่งโคจรอยู่รอบโลกที่ระดับความสูงต่าง ๆ กัน 



องค์ประกอบของระบบ RS
   การตรวจวัดจากระยะไกลออกได้เป็น 3 ส่วนหลัก คือ
   1.แหล่งข้อมูลของการตรวจวัด(Sources):ในที่นี้คือพื้นผิวและบรรยากาศของโลก
   2.อุปกรณ์การตรวจวัดจากระยะไกล(Remote Sensor):ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อ
   3.ระบบการประมวลผลข้อมูล(Data Processing System):ใช้ผู้ปฏิบัติการและระบบคอมพิวเตอร์
  

Continue Reading...