4 ธันวาคม 2557

หลักการทำงานของระบบการตรวจวัดข้อมูลจากระยะไกล

Share it Please

หลักการทำงานของระบบการตรวจวัดข้อมูลจากระยะไกล

จากผังการทำงานพื้นฐานของระบบ RS ร่วมกับ GIS จะแยกออกได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้  

 1.การได้มาซึ่งข้อมูล(data acquisition) 
       การได้มาซึ่งข้อมูลจะมีองค์ประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ  
       1.แหล่งข้อมูล(source)ในที่นี้ หมายถึง พื้นที่เป้าหมายของการสำรวจซึ่งอาจอยู่บนผิวโลกหรือในบรรยากาศของโลกก็ได้ แต่ที่สำคัญต้องเป็นเขตที่สามารถสร้างหรือสะท้อนสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาได้สำหรับเป็นสื่อในการตรวจวัดโดยอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ 
       2.เครื่องตรวจวัดจากระยะไกล(remote sensor)เป็นอุปกรณ์ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับการตรวจวัดสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งออกมาจากพื้นที่เป้าหมายแยกตามช่วงคลื่นที่เหมาะสม โดยมันมักถูกมักติดตั้งไว้บนเครื่องบิน บอลลูน หรือ บนดาวเทียม ทำให้สามารถสำรวจผิวโลกได้เป็นพื้นที่กว้างโดยข้อมูลที่ได้มักจัดเก็บไว้ในรูปของ ภาพอนาลอก (analog image) หรือ ภาพเชิงตัวเลข (digital image) เช่น ภาพดาวเทียม เป็นต้น 

 2.การประมวลผลข้อมูล (data processing) 
      แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ
      1.การปรับแต่งและแก้ไขข้อมูล(data enhancement and correction) เป็นการปรับแก้ข้อมูลให้มีความถูกต้องและเหมาะสมสำหรับการประมวลผลมากยิ่งขึ้นโดยการปรับแก้จะแบ่งเป็น 2 แบบ หลัก คือ
          1.1 การปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงรังสี(radiometric correction) 
                   1.2 การปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต(geometric correction) ของภาพที่ใช้
      2.การวิเคราะห์และแปลข้อมูล (data analysis and interpretation) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ผลการศึกษาออกมาตามที่คาดหวังที่สำคัญคือเทคนิคการจำแนกองค์ประกอบ(classification) ของภาพดาวเทียม หรือ ภาพถ่ายทางอากาศ เป็นต้น 
   
 3.การแสดงผลการศึกษาและการจัดเก็บข้อมูล(data presentation and database management)
  
 4.การประยุกต์ใช้ข้อมูลร่วมกับเทคนิคทางGIS(GIS-based data application)